นุ่น


ชื่อภาษาไทย : นุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceiba pentandra (L.) Gaertn.
ชื่ออื่นๆ : ง้าว งิ้วสาย งิ้วสร้อย งิ้วน้อย (ภาคกลาง), งิ้ว (คนเมือง), ปั้งพัวะ (ม้ง), นุ่น (ไทลื้อ), ต่อเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง) เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

ต้นนุ่น จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายน ลำต้นสูงใหญ่เปลาตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เมตร ตรงยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเป็นสีเขียวและมีหนามขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณโคนต้น

ใบนุ่น ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-11 ใบ ก้านใบย่อยยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ส่วนก้านใบร่วมยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมใบหรอกหรือรูปหอกเรียวแหลม ปลายใบและโคนใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-5 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบและเส้นก้านใบเป็นสีแดงอมน้ำตาล

ดอกนุ่น ออกดอกเป็นช่อกระจะบริเวณซอกใบ ขนาดประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก หรือช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 1-5 ดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปถ้วย ปลายดอกแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเหลือง กลีบดอกติดกันที่ฐาน กลีบด้านนอกเป็นสีขาวนวลและมีขน ส่วนด้านในกลีบเป็นสีเหลือง กลางดอกมีเกสรเพสผู้ประมาณ 5-6 อัน ก้านเกสรเพศเมียไม่แยก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม

ผลนุ่น ลักษณะของผลเป็นรูปยาวรี ปลายและโคนผลแหลม เปลือกแข็ง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 2 นิ้ว และยาวประมาณ 4-5 นิ้ว เมื่อแห้งจะแตกออกได้เป็น 5 พู ภายในผลจะมีนุ่นสีขาวเป็นปุยอยู่ และมีเมล็ดจำนวนมาก

การขยายพันธ์

ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

พื้นที่ขยายพันธ์

ชอบขึ้นตามริมลำธาร พบได้ทั่วตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา

อ้างอิง

frynn.com/นุ่น/

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านกำนันเคว็ด ชุมชนวังตะกอ อำเภอหลังสวน

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 113 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/8/2025 1:05:50 PM
    4/24/2025 4:15:38 AM
    4/19/2025 10:29:31 PM
    4/19/2025 7:00:02 PM
    4/19/2025 5:48:26 AM