กระทิง


ชื่อภาษาไทย : กระทิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calophyllum inophyllum L.
ชื่ออื่นๆ : เนาวกาน (น่าน), สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์), ทิง (กระบี่), สารภีแนน (ภาคเหนือ), นอ (ภาคอีกสาน), กระทึง กากทึง กากะทิง กากระทึง (ภาคกลาง), กะทึง กาทึง ทึง (ภาคใต้), ไท่กวั๋อหงโฮ่วเขอ หูถง (จีนกลาง) เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ยารักษาโรค
ลักษณะ

ต้นกระทิง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ ไม่เป็นระเบียบ ลำต้นค่อนข้างสั้นและมักบิดแตกเป็นกิ่งใหญ่ ๆ จำนวนมากทั้งแนวนอนและแนวตั้ง หรือห้องลง มีความสูงของต้นประมาณ 8-20 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีแดงเข้ม ต้นเมื่อแก่จะแตกเป็นร่อง ภายในมียางสีเหลืองใส ๆ เปลือกด้านในเป็นสีชมพู ส่วนแก่นไม้เป็นสีน้ำตาลอมแดง ตายอดเป็นรูปกรวยคว่ำ มีขนสีน้ำตาลปนสีแดงอยู่ประปราย

ใบกระทิง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือเป็นรูปไข่กลับแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบมนกว้างและมักหยักเว้าเล็กน้อย ใบมีความกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างหนาแข็ง และเกลี้ยง ขอบใบเรียบและผิวมันเคลือบ ท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า มีเส้นแขนงใบถี่มากและขนานกัน มองเห็นไม่ชัดเจน ส่วนเส้นกลางใบเป็นร่องทางด้านหลังใบ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่จะแห้งเป็นสีน้ำตาล และมีก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร (เปลือกของต้นมีสารแทนนินอยู่ 19%)

ดอกกระทิง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งและตามง่ามใบ ช่อละประมาณ 5-8 ดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยวแยกกันอิสระ ดอกเป็นสีขาวมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ ยาวประมาณ 2.7-10 มิลลิเมตร โดยสองกลีบนอกจะเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับและงอเป็นกระพุ้ง ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ส่วนอีกสองกลับถัดเข้าไปจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบ กว้างประมาณ 7-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 9-12 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปช้อน หรือรูปไข่กลับ ขอบงอ ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ลักษณะของดอกเป็นดอกตูมค่อนข้างกลมสีขาวนวล ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก มีกลิ่นหอม เป็นแต้มสีเหลืองรอบ ๆ เกสรตัวเมียที่ชูพ้นเกสรตัวผู้

ผลกระทิง ผลเป็นผลสดค่อนข้างกลมและฉ่ำน้ำ ผลมีลักษณะทรงกลมหรือเป็นรูปไข่และแข็ง ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ปลายผลเป็นติ่งแหลม ผลสดสีเขียว เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อผลแห้งผลจะย่นและเปลี่ยนเป็นสีออกน้ำตาลปนแดงอ่อน และภายในผลมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดมีเปลือกแข็ง[1],[4] (เมล็ดเมื่อนำมาบีบหรือสกัดด้วยตัวทำลายอินทรีย์ จะให้น้ำมันสีเหลืองอมสีเขียวประมาณ 50-70% และมีกลิ่นที่ไม่ชวนดม หรือที่เรียกว่า Dill oil, Poppy Seed oil, และ Laurel oil นอกจากนี้ยังมีเรซินอีกด้วย)

การขยายพันธ์

ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

การตอนกิ่ง

พื้นที่ขยายพันธ์

มักขึ้นตามป่าใกล้ชายทะเล ป่าดงดิบ พบได้มากทางภาคใต้

อ้างอิง

frynn.com/กระทิง/

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 216 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    4/27/2024 1:11:02 PM
    4/26/2024 9:01:43 PM
    3/27/2024 3:33:02 AM
    2/25/2024 2:30:37 AM
    2/23/2024 7:04:46 PM