มะฮอกกานี


ชื่อภาษาไทย : มะฮอกกานี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Swietenia macrophylla King
ชื่ออื่นๆ : N/A
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกระบอก ทรงพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลืองหรือแดงเข้ม เนื้อละเอียดเหนียว ลวดลายสวยงาม เมื่อแห้งจะมีแถบแววสีทองขวางเส้นไม้ เนื้อไม้แข็ง มีคุณภาพดี สามารถใสกบและตกแต่งได้ง่าย ยึดตะปูได้ดี คุณภาพใกล้เคียงกับไม้สัก ทนทานต่อการเข้าทำลายของปลวก เมล็ดรสขมมาก

เปลือก สีน้ำตาลอมเทา หนาขรุขระ แตกเป็นร่องตามทางยาวของลำต้น และหลุดลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ



ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 3 - 4 คู่ ออกตรงกันข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 5 - 6 เซนติเมตร ยาว 11 - 17 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบแผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบย่อยยาว 0.3 - 0.5 เซนติเมตร



ดอก สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเต็มที่กว้าง 0.5 - 1.0 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน สีแดง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแผ่แบนคล้ายร่ม

ผล ผลเดี่ยวขนาดใหญ่ กลม รูปไข่ ปลายมนเป็นพูตื้น ๆ สีน้ำตาล เปลือกหนาและแข็ง กว้าง 7 - 12 เซนติเมตร ยาว 10 - 16 เซนติเมตร ก้านผลแข็ง เมื่อแก่แตกออกเป็น 5 พู ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

การขยายพันธ์

เมล็ด

พื้นที่ขยายพันธ์

ประเทศไทยพบได้ทุกภาค

อ้างอิง

botanykuszone1.weebly.com/361736323630362935853585363436093637.html

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านกำนันเคว็ด ชุมชนวังตะกอ อำเภอหลังสวน
ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติสวนลุงนิล ชุมชนบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 90 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/3/2024 11:54:50 PM
    4/26/2024 8:53:23 PM
    4/10/2024 6:06:38 PM
    3/27/2024 3:24:54 AM
    2/25/2024 2:28:35 AM