รสสุคนธ์


ชื่อภาษาไทย : รสสุคนธ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera loureiri (Finet et Gagnep.) Pierre ex Craib
ชื่ออื่นๆ : สมุนไพรรสสุคนธ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า รสสุคนธ์ขาว เสาวคนธ์ เสาวรส มะตาดเครือ (กรุงเทพมหานคร), ลิ้นแรด (อุบลราชธานี), ลิ้นแฮด (ยโสธร), รสสุคนธ์ (สุรินทร์), เถากะปดใบเลื่อม (ประจวบคีรีขันธ์), ปดน้ำมัน (ปัตตานี), บอระคน เถาอรคน อรคน (ตรัง), สุคนธรส มะตาดเครือ ย่านปด อรคนธ์ ปดขน (นครศรีธรรมราช), ปดคาย ปดเลื่อม (สุราษฎร์ธานี), สับปละ (นราธิวาส), ปะหล่ะลือแล็ง (ปัตตานี), กะปด กะป๊ด ป๊ด ย่านป๊อด (ภาคใต้) เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

ต้นรสสุคนธ์ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีเนื้อไม้แข็ง ไม่ผลัดใบ เป็นไม้เถามีเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล 5-8 เมตร กิ่งอ่อนมีขนขุยสีน้ำตาลแก่ปกคลุมอยู่ แตกกิ่งเลื้อยทอดยาว เปลือกเถามีสีเขียวเมื่อยังอ่อน เมื่อเถาแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกบางเรียบ

ใบรสสุคนธ์ มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบออกเรียงแบบสลับกัน ถึงรูปขอบขนาน ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ที่โคนใบและปลายใบมนถึงแหลม ปลายใบโต โคนใบเรียว ขอบใบเป็นจักห่าง ๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา มีสีเขียวเข้ม เส้นใบชัด ลักษณะคล้ายลิ้นวัว ผิวใบด้านบนเห็นเป็นเส้นแขนงใบเป็นร่อง ส่วนผิวใต้ท้องใบสากคาย หลังใบมีสีเขียวเข้ม และมีก้านใบยาวประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร

ดอกรสสุคนธ์ ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง ออกดอกตามซอกใบหรือปลายยอด ช่อดอกมีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางของดอกเมื่อบานประมาณ 0.8 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกมีลักษณะทรงกลม สีขาว กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ มักหลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีกลิ่นหอม และดอกมักบานไม่พร้อมกัน เมื่อดอกบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ดอกมีเกสรตัวผู้สีขาวจำนวนมากคล้ายเส้นด้ายกระจายออกเป็นพุ่มกลม คล้ายดอกกระถิน และมีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ ดอกรสสุคนธ์จะส่งกลิ่นหอมแรงในตอนกลางคืน สามารถออกดอกได้ปีละหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และจะออกดอกมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูหนาว หรือในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ผลรสสุคนธ์ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่เบี้ยว ผลมีสีเขียว มีขนาดประมาณ 0.7 เซนติเมตร และมีจะงอยที่ส่วนปลาย เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็นแนวเดียว ภายในผลจะมีเมล็ดสีดำอยู่ 1-2 เมล็ด

การขยายพันธ์

N/A

พื้นที่ขยายพันธ์

ได้ทั่วไปตามป่าธรรมชาติ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ ป่าชื้นทางภาคใต้ หรือป่าเบญจพรรณและป่าชายหาดหรือชายฝั่งทะเล

อ้างอิง

frynn.com › สมุนไพร

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 120 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/17/2025 4:36:46 PM
    5/6/2025 4:59:59 AM
    4/24/2025 4:17:48 AM
    4/19/2025 10:31:25 PM
    4/19/2025 7:01:56 PM