ตีนตุ๊กแก


ชื่อภาษาไทย : ตีนตุ๊กแก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coldenia procumbens L
ชื่ออื่นๆ : หญ้าตีนตุ๊กแก หญ้าตีนตุ๊กโต หญ้าตุ๊บโต๋ (เชียงใหม่), เทียนเศรษฐี (แม่ฮ่องสอน), ตีนตุ๊กแก (กรุงเทพฯ) เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

ต้นตีนตุ๊กแก จัดเป็นไม้ล้มลุกและเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ทนแล้งได้ดี มีอายุเพียงฤดูเดียว มีรากแก้ว และมีอายุได้หลายปี ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน และชูส่วนยอดตั้งตรง สูงได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร ส่วนข้อที่สัมผัสพื้นดินจะออกราก ตามลำต้นจะมีขนยาวสีขาวขึ้นปกคลุม ต้นมีขนาดเล็กและเรียวสีขาวแกมสีเขียว แตกแจนงเล็กน้อย

ใบตีนตุ๊กแก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแหลม รูปหอก รูปไข่ หรือรูปข้าวหลามตัด ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบเป็นหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ตามหลังใบและท้องใบมีขนขึ้นปกคลุม ก้านใบยาวประมาณ 5-15 มิลลิเมตร ด้านบนก้านใบเป็นร่อง

ดอกตีนตุ๊กแก ออกดอกเป็นช่อชนิดเกิดจากฐานเดียว โดยจะเกิดที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกเรียวเล็กยื่นยาวชูเหนือลำต้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร มีขนปกคลุม โคนช่อดอกมีใบประดับสีเขียวจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ปลายแหลม ส่วนโคนมนหรือตัดตรง กว้างประมาณ 1-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-6 มิลลิเมตร มีขนขึ้นปกคลุม เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอกประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกย่อยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ดอกแบบรอบนอก 1 วง จำนวน 4-6 ดอก และดอกย่อยชั้นในเป็นกระจุกหลายวง อัดกันแน่นบนฐานรองดอกและไม่มีก้านดอกย่อย โคนดอกย่อยมีใบประดับสีขาวแกมม่วง ยาวได้ประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ดอกรอบนอกเป็นแบบ ligulate type กลีบเลี้ยงเป็นสีขาวมีลักษณะเป็นเส้นขนเล็ก ๆ ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และมีจำนวนมาก ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบเป็นสีขาวติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบเป็นสีเหลือง ติดกันเป็นแผ่นเดียว มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ปลายกลีบเว้าหยักเป็นพู 2-3 พู ไม่มีเกสรเพศผู้ มีแต่เกสรเพศเมีย รังไข่เป็นแบบรังไข่ใต้วงกลีบ มีขนปกคลุม ก้านเกสรเพศเมียจะยาวกว่าหลอดกลีบดอกเล็กน้อย ส่วนปลายแยกเป็นยอดเกสร 2 แฉก ดอกชั้นในเป็นแบบ tubular type กลีบเลี้ยงเป็นสีขาว มีลักษณะเป็นเส้นขนเล็ก ๆ ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และมีจำนวนมาก ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเป็นสีขาวติดกันเป็นหลอด ปลายหลอดเป็นสีเหลือง แยกกันเป็นแฉก 5 แฉก หลอดกลีบกว้างประมาณ 0.5-1.2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณู แยกกันและยาวกว่าหลอดกลีบดอกเล็กน้อย ส่วนอับเรณูยาวประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร ติดกันตามยาวล้อมรอบก้านเกสรเพศเมียเอาไว้ ส่วน

การขยายพันธ์

ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง

พื้นที่ขยายพันธ์

ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามริมทาง ที่ชื้นทั่วไป และตามทุ่งหญ้า

อ้างอิง

frynn.com/ตีนตุ๊กแก/

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 89 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    4/19/2024 2:45:14 PM
    3/27/2024 3:19:26 AM
    2/25/2024 2:27:12 AM
    1/30/2024 9:07:32 AM
    1/17/2024 10:47:10 PM