หญ้าปากควาย


ชื่อภาษาไทย : หญ้าปากควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dactyloctenium aegyptiacum Willd.
ชื่ออื่นๆ : หญ้าปากกล้วย (สิงห์บุรี), หญ้าปากควาย (ภาคกลาง), หญ้าปากคอก, หญ้าสายน้ำผึ้ง, หญ้าตีนตุ๊กแก เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ยารักษาโรค
ลักษณะ

ต้นหญ้าปากควาย จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้ามีอายุปีเดียว ลำต้นเลื้อยทอดนอนไปตามพื้น แตกลำและรากที่ข้อแล้วตั้งตรงลำต้นกลมเป็นปล้องกลวง มีความกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และมีความสูงของต้นประมาณ 15-50 เซนติเมตร

ใบหญ้าปากควาย ใบเป็นรูปแถบ มีความยาวประมาณ 9.5-32 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบตัด ส่วนขอบใบมีขนยาวห่าง ลักษณะของแผ่นใบเกลี้ยง มีกาบใบสั้นหรือยาวกว่าปล้อง มีความยาวประมาณ 3.2-5.5 เซนติเมตร เกลี้ยง ขอบเกลี้ยง ส่วนลิ้นใบเป็นเยื่อ มีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ส่วนปลายมีและมีขน

ดอกหญ้าปากควาย ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ ช่อดอกแยกแขนงคล้ายรูปนิ้วมือ ออกที่ปลายกิ่ง มีความกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.2-3.8 เซนติเมตร ช่อย่อยมีประมาณ 3-5 ช่อ ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร แกนช่อเป็นเหลี่ยม ช่อดอกย่อยออกเดี่ยว ๆ ติดที่แกนแขนงช่อดอกด้านเดียว แบบเรียงสลับ ไร้ก้าน ร่วงหรือกาบ โดยช่อดอกย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่แบนด้านข้าง กว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร กาบช่อย่อยเนื้อมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ กาบล่างเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม มีขนบริเวณสันกลางกาบ เส้นกาบมี 3 เส้น ส่วนกาบบนมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ปลายเรียวแหลมลักษณะคล้ายรยางค์ ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีขนที่โคนและสันของกลางกาบ ดอกย่อย 3 ดอก ดอกล่างเป็นแบบไม่มีเพศ กาบล่างมีลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ปลายเรียวแหลม เนื้อมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ มีขนขึ้นบริเวณสันกลางกาบ มีเส้นกาบ 1 เส้น กาบบนมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนดอกบนเป็นแบบสมบูรณ์เพศ กาบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน เนื้อบาง และกาบล่างจะยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ปลายยาวคล้ายหาง มีขนขึ้นบริเวณขอบกาบ มีเส้นกาบ 3 เส้น โดยกาบบนยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปลายแหลม มีขนขึ้นบริเวณเส้นกลางกาบและขอบกาบ มีเส้นกาบ 1 เส้น ส่วนดอกที่ 3 จะอยู่ด้านบน เป็นแบบไม่มีเพศ กาบเนื้อบาง กาบล่างมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 2.3 มิลลิเมตร ปลายเรียวแหลม มีขนขึ้นบริเวณเส้นกลางกาบ มีเส้นกาบ 3 เส้น กาบบนมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร ปลายแหลมและเกลี้ยง เส้นกาบ 1 เส้น

ผลหญ้าปากควาย ผลขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายรูปไตหรือกลม สีน้ำตาล ยาวประมาณ 1.1-1.2 มิลลิเมตร ผิวเป็นคลื่นสีน้ำตาลเข้ม ในผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม[1],

การขยายพันธ์

ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง

พื้นที่ขยายพันธ์

ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบได้ตามพื้นที่ที่ถูกรบกวน ตามพื้นที่เปิดโล่ง ตามริมถนนหนทาง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นดินทราย ที่ระดับความสูง 50-650 เมตร

อ้างอิง

frynn.com/หญ้าปากควาย/

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 70 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    4/27/2024 12:29:53 AM
    4/26/2024 8:59:52 PM
    3/31/2024 4:44:06 AM
    3/27/2024 3:31:18 AM
    2/25/2024 2:30:12 AM