ผักปราบใบแคบ


ชื่อภาษาไทย : ผักปราบใบแคบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : commelina diffusa Burm.f.
ชื่ออื่นๆ : ผักปลายขอบใบเรียว (เชียงใหม่), ผักปลาบ (ภาคกลาง), ด่อเบล่ร่อด ด่อเบล่บรู้ (ปะหล่อง), โต่ะอูเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ผักปลาบนา, หญ้ากาบผี, กินกุ้งน้อย เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

ต้นผักปลาบใบแคบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก อายุปีเดียว ลำต้นแตกกิ่งก้านทอดเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดินหรือริมชายน้ำและชูยอดขึ้น สูงได้ประมาณ 30-155 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมอวบน้ำไม่มีขน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-4.9 มิลลิเมตร มีรากออกตามข้อ

ใบผักปลาบใบแคบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย จะสังเกตได้เมื่อใช้เลนส์ขยาย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-2.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.1-12.5 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย หน้าใบไม่มีขน ผิวหน้าใบสากมือ ส่วนหลังใบนุ่มไม่มีขนถึงมีขนน้อยมาก กาบใบยาวประมาณ 1.1-3.2 เซนติเมตร ขอบกาบใบมีขนยาวประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร

ดอกผักปลาบใบแคบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ประกอบด้วยดอกย่อย 1-3 ดอก กลีบดอกเป็นสีม่วงน้ำเงินหรือสีม่วงคราม มีใบประดับสีเขียวหุ้มช่อดอก หลังใบประดับมีขนยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ขึ้นปกคลุมปานกลาง ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 3 กลีบ สีเขียวอ่อนใสถึงสีม่วงอ่อนใส อับเรณูมี 6 อัน ซึ่ง 4 อันเป็นหมันจะเป็นสีเหลืองสด ส่วนอีก 2 อันไม่เป็นหมันจะเป็นสีม่วงคราม ยอดเกสรเพศเมียเป็นสีม่วงคราม ก้านเกสรเพศเมียและก้านชูอับเรณูเป็นสีม่วงอ่อนใส ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม

ผลผักปลาบใบแคบ ผลเป็นแห้งและแตกได้ตามพูหรือตามตะเข็บ ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเมล็ดเรียบ

การขยายพันธ์

โดยใช้ลำต้นและเพาะเมล็ด

พื้นที่ขยายพันธ์

มักพบขึ้นในที่ชื้นแฉะในที่ร่มเงา ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ที่ร่มทึบ ใกล้ลำธาร และในสวนป่า เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก นครศรีธรรมราช นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 27-357 เมตร

อ้างอิง

frynn.com › ผัก

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 103 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/8/2025 12:23:53 PM
    5/5/2025 11:34:59 PM
    4/24/2025 4:16:01 AM
    4/19/2025 10:29:49 PM
    4/19/2025 4:23:48 PM