ดองดึงห์


ชื่อภาษาไทย : ดองดึงห์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superba L.
ชื่ออื่นๆ : ก้ามปู (ชัยนาท), หมอยหีย่า (อุดรธานี), พันมหา (นครราชสีมา), คมขวาน หัวขวาน บ้องขวาน (ชลบุรี), ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (ภาคกลาง), มะขาโก้ง (ภาคเหนือ), ดาวดึง หัวขวาน หัวฟาน พันมหา (ภาคอีสาน) เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

ลักษณะของดองดึง ดองดึงจัดเป็นไม้เถาล้มลุกมีความยาวได้ถึง 5 เมตร มีอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดินทรงกระบอกโค้ง มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบ ใบคล้ายรูปหอกยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมงอเป็นมือเกาะไม่มีก้าน ส่วนลักษณะของผลดองดึงจะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แตกตามรอยประสาน มีเมล็ดกลม ๆสีแดงส้มจำนวนมาก



ลักษณะของดอกดองดึง จะเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกด้านบนมีสีแดง ด้านล่างมีสีเหลือง (หรือจะเป็นสีเหลืองซีดอมเขียว หรือเป็นสีแดงทั้งดอกก็ได้) ดอกใหญ่ยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีเกศรตัวผู้ 6 อัน มีก้านยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร อับเรณูจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนเกสรตัวเมียจะยาวประมาณ 0.3-0.7 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก ดองดึงมีสารสำคัญต่าง ๆหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Colchicne, Gloriosine, Superbine รวมไปถึงสารอัลคาลอยด์อื่น ๆด้วย โดยสารโคลชิซีน (Colchicne) นี้ก็มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดข้อได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งสามารถนำไปรักษาโรคมะเร็งได้ และสารชนิดนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม ที่มีการนำไปใช้ผสมพันธุ์ให้กับพืช เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่

การขยายพันธ์

N/A

พื้นที่ขยายพันธ์

พืชชนิดนี้ะขึ้นตามที่โล่ง ชายป่า และดินปนทราย หรือดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์

อ้างอิง

frynn.com › สมุนไพร

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 122 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/6/2025 6:12:32 PM
    4/24/2025 4:14:42 AM
    4/19/2025 10:28:46 PM
    4/19/2025 6:59:15 PM
    4/19/2025 4:22:42 PM