โทะ


ชื่อภาษาไทย : โทะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhodomyrtus tomentosa (Ait.) Hassk.
ชื่ออื่นๆ : พรวดกินลูก (ปราจีนบุรี), ซวด (จันทบุรี), ง้าย ชวด พรวด (ตราด), พรวดใหญ่ (ชลบุรี), พรวดผี (ระยอง), โท๊ะ (สงขลา), กาทุ (ชุมพร), ทุ โทะ (ภาคใต้), กามูติง กามูติงกายู มูติง (มลายู), ปุ้ย (เขมร) เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ยารักษาโรค
ลักษณะ

ต้นโทะ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ต้น มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะกลม เปลือกต้นลอกเป็นแผ่นบาง ๆ ตามกิ่งอ่อน ยอดอ่อน แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ข่อดอก ก้านดอก กลีดอกด้านนอก กลีบเลี้ยงดอก และผลมีขนสั้นหนานุ่มสีเทาขึ้นปกคลุม

ใบโทะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรีถึงรูปขอบขนาน ปลายใบมน ทู่ แหลม หรือเป็นติ่งแหลมอ่อน ๆ โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่มกว้าง ส่วนขอบใบเรียบม้วนลงเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนด้านล่างมีขนสีขาวเป็นปุย มีเส้นใบ 3 เส้น จากโคนจรดปลายใบ เส้นแขนงใบมีข้างละ 1 เส้น ออกจากโคน เรียงโค้งจรดกันเป็นเส้นขอบใบ ก้านใบยาวได้ประมาณ 0.5 เซนติเมตร

ดอกโทะ ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจุกซ้อน (แต่ส่วนมากจะออกเดี่ยว) โดยจะออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ก้านช่อยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีม่วงแกมชมพู หรือสีชมพูอมขาว ดอกแก่เป็นสีขาว มี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับเกือบกลม ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 3-4 เซนติเมตร ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ สำหรับกลีบเลี้ยงที่โคนกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมน ติดทน กลีบยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร สองกลีบในยาวกว่ากลีบด้านนอกเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเป็นสีแดง ขนาดยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร อับเรณูปลายมีต่อมขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียยาวได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม

ผลโทะ ผลเป็นผลสดสีเขียวด้าน ๆ ลักษณะเป็นรูปกลมแกมรีหรือเกือบกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้น ๆ หนานุ่มสีเทาขึ้นปกคลุม กลีบเลี้ยงติดทน เมื่อแก่ผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำถึงดำ เนื้อผลสุกเป็นสีม่วง นุ่ม มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไตสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีปุ่มกระจายจะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

การขยายพันธ์

ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

พื้นที่ขยายพันธ์

ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และทางภาคใต้ โดยมักขึ้นตามบริเวณดินทราย ตามป่าโปร่ง ตายชายฝั่งทะเล ป่าชายหาด ชายป่าพรุ และป่าดิบเขา ตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร แต่จะพบในระดับต่ำ ๆ

อ้างอิง

N/A

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 107 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/6/2025 7:18:47 PM
    4/24/2025 4:15:32 AM
    4/19/2025 10:29:26 PM
    4/19/2025 6:59:57 PM
    4/19/2025 4:23:20 PM