ตีนเป็ดน้ำ


ชื่อภาษาไทย : ตีนเป็ดน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : N/A
ชื่ออื่นๆ : ตุม ตูม พะเนียงน้ำ (กาญจนบุรี), สั่งลา (กระบี่), ตีนเป็ด ตีนเป็ดทะเล (ภาคกลาง), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ยารักษาโรค
ลักษณะ

ต้นตีนเป็ดน้ำโดยจัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น

ใบตีนเป็ดน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว หรือเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมีติ่งหรือหางใบแหลม โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.4-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8.9-30 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นแขนงใบประมาณ 12-25 เส้น เห็นเส้นใบได้ชัดเจน ส่วนท้องใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

ดอกตีนเป็ดน้ำ อกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 8-35 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกหลายดอก ประมาณ 10-14 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ก้านดอกยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ เรียงซ้อนทับกันด้านซ้ายในตาดอก ปลายกลีบดอกแหลม ดอกบานมีแต้มเหลืองรอบปากหลอดกลีบดอก หลอดกลีบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แฉกกลีบยาวประมาณ 1.2-3.8 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ติดกลางหลอดกลีบดอก ส่วนกลีบรองดอกหรือกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปแถบหรือรูปใบหอดกลีบ ยาวประมาณ 0.8-2.5 เซนติเมตร ปลายกลีบเรียวแหลม เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 6-7 เซนติเมตร

ผลตีนเป็นน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม หรือค่อนข้างกลมรีเป็นสองพูตื้น ๆ ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเนียนเป็นมันและมีจุดเล็ก ๆ สีขาวกระจายทั่วไป ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มถึงสีม่วงเข้ม ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง เบา และลอยน้ำได้

การขยายพันธ์

ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแก่ (เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด)

พื้นที่ขยายพันธ์

ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบได้เฉพาะทางภาคใต้ ปลูกได้ดีในดินทั่วไป ชอบแสงแดดเต็มวัน เจริญเติบโตได้เร็ว ไม่ต้องการการดูแลมาก มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืดและป่าชายหาด

อ้างอิง

frynn.com/ตีนเป็ดน้ำ/

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 95 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/5/2024 10:09:23 AM
    4/30/2024 2:50:06 PM
    4/26/2024 9:04:05 PM
    3/27/2024 3:19:23 AM
    3/22/2024 10:30:27 AM