ส้านใหญ่


ชื่อภาษาไทย : ส้านใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dillenia obovata (Blume) Hoogland
ชื่ออื่นๆ : ส้านแข็ง ส้านต้อง (เชียงใหม่), ชะวิง (ชลบุรี), ซ่าน (ภาคอีสาน), ส้านใหญ่ (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

ต้นส้านใหญ่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10-35 เมตร เรือนยอดของต้นกลมทึบ ขนาดทรงพุ่มประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นมีลักษณะคดงอ เปลือกต้นค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีเทาอมเหลืองอ่อนหรือสีแดงอ่อนหรือชมพูปนเทา ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีแดงคล้ำ กิ่งอ่อนเกลี้ยงแต่ใบอ่อนมีขน โคนต้นมีพูพอนเตี้ย ๆ

ใบส้านใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบทู่หรือป้านมีติ่งสั้น ๆ แล้วค่อย ๆ สอบเรียวไปหาโคนใบ โคนใบเป็นแหลม เป็นรูปลิ่ม หรือสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยง เส้นกลางใบมีขนและมีออกสีน้ำตาลแดงเมื่อแห้ง ส่วนท้องใบมีขนขึ้นประปราย มีเส้นแขนงใบตรงและขนานกันจำนวนมาก โดยมีประมาณ 15-30 คู่ ปลายเส้นแขนงยื่นพ้นขอบใบเล็กน้อย ก้านใบเกลี้ยง

ดอกส้านใหญ่ ออกดอกเดี่ยว หรือออกเป็นช่อแบบกระจะตามปลายกิ่งหรือใกล้ ๆ ปลายกิ่งแขนง ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 1-3 ดอก กลีบเลี้ยงหนาเป็นสีเขียวนวล มีจำนวน 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับหรือรูปช้อน สีเหลือง มีขนาดใหญ่เป็น 3 เท่าของกลีบเลี้ยง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 14-16 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลือง มีเกสรเพสผู้จำนวนมาก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นสีเหลืองเข้มกว่าชั้นใน รังไข่แบ่งเป็นช่องประมาณ 9-11 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุลประมาณ 25-35 ออวุล บริเวณโคนกลีบเลี้ยงมีกลายเล็กแหลม 3 กาบ และที่โคนก้านดอกอีก 3 กลีบ ส่วนเกสรเพศเมียปลายเป็นแฉก ๆ อยู่เหนือเกสรเพสผู้ ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

ผลส้านใหญ่ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เป็นผลสดอุ้มน้ำ สีเหลืองอมส้ม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.54 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงที่พัฒนากลายเป็นกาบหุ้มส่วนเน้อผลจนมิด เนื้อผลแก่เป็นสีเหลืองหรือสีส้ม ผลแห้งเป็นสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลจะแก่ในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

การขยายพันธ์

ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

พื้นที่ขยายพันธ์

ตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเบญจพรรณชื้น และตามป่าเต็งรังทั่วประเทศ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 50-1,300 เมตร

อ้างอิง

frynn.com/ส้านใหญ่/

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 93 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    4/20/2024 9:00:25 PM
    4/9/2024 4:05:08 AM
    3/27/2024 3:28:50 AM
    2/25/2024 2:31:05 AM
    1/17/2024 10:52:52 PM