เฉียงพร้า นางแอ


ชื่อภาษาไทย : เฉียงพร้า นางแอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carallia Brachiata Lb., C. Integerrima
ชื่ออื่นๆ : แก็ก วงคต วงคด องคต (ลำปาง), บงคด (แพร่), นกข่อ ส้มป้อง (เชียงใหม่), ขิงพร้า เขียงพร้า (ตราด, ประจวบคีรีขันธ์), กวางล่าม้า (ภาษาชอง-ตราด), ม่วงมัง หมักมัง (ปราจีนบุรี), โองนั่ง (อุตรดิตถ์), บงมัง (ปราจีนบุรี, อุดรธานี), เขียงพร้านางแอ (ชุมพร), เฉียงพร้า ตะแบง (สุรินทร์), ร่มคมขวาน (กรุงเทพ), สีฟันนางแอง (ภาคเหนือ), ต่อไส้ สันพร้านางแอ (ภาคกลาง), คอแห้ง สีฟัน (ภาคใต้), สะโข่ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), กูมุย (เขมร-สุรินทร์) เป็นต้น
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

ต้นเฉียงพร้านางแอ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 25-30 เมตร และสูงได้ถึง 35 เมตร ลำต้นเปลา ตั้งตรง เป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มรูปกรวยกว้างทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมสีแดงถึงสีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบ และมีรูอากาศมาก หรือเปลือกต้นอาจหนาแตกเป็นร่องลึกตามยาว อาจพบลักษณะคล้ายรากค้ำจุนแบบ Prop root เป็นเส้นยาว หรือจะออกเป็นกระจุกตามลำต้นหรือส่วนของโคนต้น

ใบเฉียงพร้านางแอ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับกับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่กลับ หรือเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมนมีติ่งเล็กแหลม ส่วนฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบเป็นเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยงหนาและและเหนียว หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมันหนา ท้องใบสีอ่อนกว่า มีจุดสีน้ำตาลกระจาย และมีหูใบอ่อนเป็นรูปหอกแหลมที่ปลายกิ่ง เมื่อร่วงจะเห็นรอยแผล บริเวณข้อพองเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร

ดอกเฉียงพร้านางแอ ออกดอกเป็นช่อแยกแขนง แบบกระจุกสั้น ๆ มีดอกย่อยจำนวนมากและมีขนาดเล็กเรียงตัวกันแน่นเป็นช่อกลม โดนจะออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง แตกแขนงเป็น 4 กิ่ง กลีบดอกแยกอิสระจากกัน กลีบดอกครีม ลักษณะเป็นรูปกลม ขอบกลีบหยักเว้าพับจีบ โคนสอบแหลมเป็นก้านติดเรียงสลับกับกลีบเลี้ยง ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบดอก และยาวไม่เท่ากัน ส่วนจานฐานดอกเป็นวง มีรังไข่เป็นพู 3-4 พู โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ผลเฉียงพร้านางแอ เป็นผลสดแบบมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดเล็ก และออกเป็นกระจุก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ปลายผลคล้ายมงกุฎ ผิวผลเป็นมัน มีเนื้อบางสีเขียวห่อหุ้มอยู่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงเมื่อสุดจัด ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลหรือดำ มีเนื้อเยื่อหนาสีส้ม ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต โดยผลจะสุกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

การขยายพันธ์

ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

พื้นที่ขยายพันธ์

ในป่าเบญจพรรณ ป่าพรุน้ำจืด ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ระดับทะเลจนถึง 1,300 เมตร แต่ในภูมิภาคมาเลเซียจะพบจนถึงระดับความสูงที่ 1,800 เมตร

อ้างอิง

frynn.com/เฉียงพร้านางแอ/

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ป่าอนุรักษ์แม่โจ้ - ชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 121 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/8/2025 12:19:18 PM
    5/6/2025 5:53:40 PM
    4/24/2025 4:14:15 AM
    4/19/2025 10:25:59 PM
    4/19/2025 8:40:45 AM