สมอ


ชื่อภาษาไทย : สมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminaliachebula Retz. var. chebula
ชื่ออื่นๆ : สมอ (นครราชสีมา) ม่าแน่ (เชียงใหม่) สมอไทย สมออัพยา (ภาคกลาง) หมากแน่ะ (แม่ฮ่องสอน) มะน่ะ หมากนะ ส้มมอ
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลา ตรง ไม่มีพูพอนหรืออาจมีบ้างเล็กน้อยในช่วงที่ใกล้ ๆ ผิวดิน เปลือกหนา สีน้ำตาลแก่ค่อนข้างดำแตกปริเป็นร่องลึกไปตามยาว ลำต้นขรุขระ เปลือกในสีน้ำตาลแดง เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่ค่อนข้างโปร่ง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป



ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบมีทั้งรูปรี ๆ รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 10-13 ซม. ยาว 18-28 ซม. โคนใบมนและมักเบี้ยวเล็กน้อย บริเวณขอบใบใกล้ ๆ กับโคนใบจะมีตุ่มหูดหนึ่งคู่ ปลายเป็นติ่งแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบสีเขียวเข้ม มีขนสีขาวคลุม ทางด้านท้องใบสีจางคลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่ม พอใบแก่จัดขนทางด้านท้องใบจะหลุดร่วงไปหมดหรือเกือบหมด เส้นแขนงใบค่อนข้างถี่ มี 12-18 คู่ และมักมีเส้นแทรกเส้นใบย่อยแบบเส้นร่างแหเห็นชัดมากทางด้านท้องใบ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2-2.5 ซม.



ดอก มีขนาดเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน กลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกรวมกันเป็นช่อยาว ๆ ที่ไม่แยกแขนงเป็นกระจุก ๆ ละ 4-7 ช่อ บริเวณเหนือรอยแผลใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง กลีบฐานดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนแน่นทางด้านใน เมื่อบานเต็มที่กว้าง 3-4 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้มี 10 อัน เรียงตัวเป็นสองแถวล้อมรอบรังไข่ รังไข่รูปไข่เกลี้ยง ๆ ภายในมีช่องเดียว และมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว

ผล รูปป้อม ๆ หรือรูปกระสวย มีเนื้อเยื่อหนาหุ้มเมล็ดซึ่งมีเมล็ดเดียวแข็ง ๆ ผลโต 2-3 ซม. และยาว 3-4 ซม. มีพูหรือเหลี่ยมตามยาวตัวผล 5 พู ผลแก่สีเขียวอมเหลือง แต่พอแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

การขยายพันธ์

โดยเมล็ด

พื้นที่ขยายพันธ์

N/A

อ้างอิง

www.dnp.go.th/Pattani_botany/พันธุ์ไม้/ไม้เอนกประสงค์/สมอไทย/สมอไทย.htm

คำอธิบายอื่นๆ

N/A


ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 99 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    4/29/2024 5:50:16 AM
    4/26/2024 8:58:04 PM
    3/27/2024 3:33:58 AM
    2/25/2024 2:29:44 AM
    1/17/2024 10:54:08 PM