มะนาวผี


ชื่อภาษาไทย : มะนาวผี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atalantia monophylla (DC.) Correa
ชื่ออื่นๆ : มะลิว (เชียงใหม่), กรูดเปรย (จันทบุรี), นางกาน (ขอนแก่น), กรูดผี (สุราษฎร์ธานี), ขี้ติ้ว จ๊าลิ้ว (ภาคเหนือ), กะนางพลี[1] กะนาวพลี[3] มะนาวพลี[2] (ภาคใต้)
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

โดยจัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-3 เมตร และอาจมีความสูงของต้นได้ถึง 6 เมตร ลักษณะของลำต้นและกิ่งค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นตื้น ๆ ตามยาวของลำต้น มีหนามยาวหนึ่งอันตามซอกใบ หนามยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร

ใบมะนาวผี ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบป้านเป็นติ่ง โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้าง ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.8-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.8-8 เซนติเมตร แผ่นใบแผ่เรียบ หนาคล้ายแผ่นหนังและเป็นมัน ด้านบนใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน เกลี้ยงทั้งสองด้าน หรือมีขนกระจายตามเส้นกลางใบ มีเส้นข้างใบประมาณ 5-7 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปแบบร่างแห ชัดเจนทางด้านล่าง ส่วนก้านใบยาวประมาณ 4-8 มิลลิเมตร

ดอกมะนาวผี ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม โดยจะออกตามซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอม ก้านช่อดอกและก้านดอกเกลี้ยงถึงมีขนละเอียด ก้านดอกยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร มีใบประดับย่อยลักษณะเป็นรูปใบหอก ร่วงง่าย ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีขน กลีบเลี้ยงไม่สมมาตร แยกออกถึงฐานเพียงหนึ่งด้าน และมักมี 2 แฉก ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร เกลี้ยงถึงมีขนละเอียด ดอกมีกลีบดอก 4-5 กลีบ แยกออกจากกันอย่างอิสระ กลีบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมรูปรี ยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร เกลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 หรือ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน สลับกันระหว่างสั้นกับยาว ที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด เกลี้ยง อับเรณู รังไข ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ ยาวประมาณ 6-7 มิลลิเมตร มี 3-4 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 1-2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมีย ยาวเท่ากับรังไข่ ยอดเกสรเพศเมียมี 3-4 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน ส่วนจานฐานดอกเป็นรูปวงแหวน มีพู 8-10 พู ไม่ชัดเจน

ผลมะนาวผี ผลมีลักษณะกลมหรือรี เป็นผลขนาดเล็ก ผิวผลเรียบเป็นสีเขียวอ่อนหรือเทา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผิวผลหนาคล้ายหนังและมีต่อมน้ำมันเป็นจุดหนาแน่น ที่ปลายผลมีก้านเกสรเพศเมีย ติดทน ผลภายในเป็นกลีบคล้ายผลส้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนน้อย ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรีสีขาว โดยจะออกดอกและเป็นผลในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน

การขยายพันธ์

เพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง

พื้นที่ขยายพันธ์

ประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค บ้างว่าพบได้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี เพชรบุรี จังหวัดชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ โดยจะพบได้ตามป่าชายหาก ชายฝั่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง บนเขาหิน ที่ระดับความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 800 เมตร

อ้างอิง

www.flickr.com (by Ahmad Fuad Morad, Lalithamba), www.phargarden.com (by Sudarat Homhual)

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 86 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/5/2024 3:51:52 AM
    4/26/2024 8:54:12 PM
    4/6/2024 4:22:20 PM
    3/27/2024 3:25:39 AM
    2/25/2024 2:16:22 PM