เถาวัลย์เปรียง


ชื่อภาษาไทย : เถาวัลย์เปรียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris Scandens
ชื่ออื่นๆ : เครือตาปลา เครือไหล (เชียงใหม่), เครือตับปลา (เลย), เถาตาปลา เครือเขาหนัง ย่านเหมาะ (นครราชสีมา), พานไสน (ชุมพร), เครือตาป่า เครือตับปลา เครือเขาหนัง เครือตาปลาโคก (หากเกิดบนบก) เครือตาปลาน้ำ (หากเกิดในที่ลุ่ม) (ภาคอีสาน), เถาวัลย์เปรียงขาว เถาวัลย์เปรียงแดง (ภาคกลาง), ย่านเหมาะ ย่านเมราะ (ภาคใต้)
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ยารักษาโรค
ลักษณะ

จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้ คล้ายกับเถาต้นแดง (เนื้อไม้มีรสเฝื่อนและเอียน) ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม

ใบเถาวัลย์เปรียง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อย 4-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ

ดอกเถาวัลย์เปรียง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาวห้อยลง ดอกเป็นสีขาวอมสีม่วงอ่อนคล้ายกับดอกถั่ว กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีขนาดไม่เท่ากัน สวนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย สีม่วงแดง

ผลเถาวัลย์เปรียง ออกผลเป็นฝักแบน โคนฝักและปลายฝักมน ฝักเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด

การขยายพันธ์

ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี หากปลูกในที่แล้งจะออกดอกดก แต่จะมีขนาดเล็กกว่าปลูกในที่ชุ่มชื้น

พื้นที่ขยายพันธ์

พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นเองตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทยและใช้กันทุกจังหวัด

อ้างอิง

frynn.com/เถาวัลย์เปรียง/

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 98 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    4/20/2024 12:20:35 AM
    3/27/2024 3:20:19 AM
    2/25/2024 2:27:25 AM
    2/6/2024 7:36:45 PM
    2/2/2024 11:52:44 PM