ผักเหลียง


ชื่อภาษาไทย : ผักเหลียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr
ชื่ออื่นๆ : เหลียง (ชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์-ใต้), เหมียง (พังงา ภูเก็ต กระบี่-ใต้), เขลียง เรียนแก่ (นครศรีธรรมราช), เหรียง (สุราษฎร์ธานี), ผักกะเหรี่ยง (ชุมพร), ผักเมี่ยง (พังงา)
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

ต้น:ผักเหมียงเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 – 5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงได้โดยลำต้นไม้หัก ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล



ใบ :ใบผักเหมียงมีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลม มีขนาด กว้าง 4 – 10 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบมีสีเขียวเป็นมัน แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน รับประทานได้ทั้งดิบและสุก



ดอก :ผักเหมียงมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะออกต่างต้นกัน กล่าวคือหากต้นใดมีดอกตัวผู้จะไม่มีดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้เป็นดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตาม ข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อมีปุ่มดอกขนาดเล็กเรียงกันเป็น ข้อๆ ประมาณ 5 – 8 ข้อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกตัวเมียเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดของดอก ใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ดอกออกเป็นช่อตามข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร ใน แต่ละช่อมีปุ่มดอกเรียงเป็นข้อๆ ประมาณ 7 – 10 ข้อ ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะเริ่มออก ดอกในช่วง เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ผลแก่สามารถเก็บไว้ขยายพันธุ์ได้ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน

ผักเหมียงจะออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 5 – 6 ปี



ผล :จะมีลักษณะเป็นรูปกระสวย เปลือกกว้างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร มีความยาว ประมาณ 2.5 – 4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน ใน 1 ช่อจะมีผลประมาณ

..... อ่านต่อได้ที่:ต้น:ผักเหมียงเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 – 5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงได้โดยลำต้นไม้หัก ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล



ใบ :ใบผักเหมียงมีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลม มีขนาด กว้าง 4 – 10 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบมีสีเขียวเป็นมัน แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน รับประทานได้ทั้งดิบและสุก



ดอก :ผักเหมียงมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกต

การขยายพันธ์

การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการใช้ต้นจากราก แขนง

พื้นที่ขยายพันธ์

ผักเหลียงเป็นผักพื้นบ้านของจังหวัดชุมพรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งผักเหลียง เป็นพืชที่ชอบที่ร่ม มีดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง และมีฝนตกชุกและต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีการปลูกผักเหลียงมากขึ้น โดยการปลูกแซมสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้

อ้างอิง

https://www.gotoknow.org/posts/420630See

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านกำนันเคว็ด ชุมชนวังตะกอ อำเภอหลังสวน
ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติสวนลุงนิล ชุมชนบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก
ชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 111 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    4/19/2024 5:25:01 AM
    4/7/2024 1:51:17 AM
    3/28/2024 1:19:02 AM
    3/27/2024 3:34:42 AM
    2/25/2024 2:27:48 AM