เถาอรคนธ์


ชื่อภาษาไทย : เถาอรคนธ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera indica
ชื่ออื่นๆ : รสสุคนธ์แดง อรคนธ์ (กรุงเทพมหานคร), ย่านปด (ภาคใต้), เครือปด (ชุมพร), ย่านเปล้า (ตรัง), ปดลื่น (ยะลา ปัตตานี), ย่านปด (นครศรีธรรมราช)
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุ
ลักษณะ

ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง 10 เมตร เถาสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีถึงรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร ปลายใบมนถึงแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ห่างๆ แผ่นใบเรียบ มีขนตามเส้นใบด้านล่าง ก้านใบสั้นสีแดง ยาว 0.5-1 เซนติเมตร ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกขนาด 2.5-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวแกมแดง กว้าง 7-9 มิลลิเมตร ยาว 8-10 มิลลิเมตร ไม่มีขน กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่กลับ กว้าง 6-8 มิลลิเมตร ยาว 12-15 มิลลิเมตร มีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาวอมชมพู โรยง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ปลายก้านชูอับเรณูสีแดง ส่วนโคนก้านสีขาว รังไข่มี 3-4 คาร์เพล ด้านหลังมีขนแข็งประปราย ผลแบบแคปซูลแห้งแตกแนวเดียว คล้ายทรงกลม กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายผลมีจะงอยแหลมยาว 2-6 มิลลิเมตร ผลมักอยู่รวมกันประมาณ 3 ผล ผลมีขนาด 0.8 เซนติเมตร สีส้มถึงสีแดง เมล็ด รูปไข่สีดำ มีสองเมล็ดหรือมากกว่า กว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ที่ฐานเป็นชายครุย พบตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร

การขยายพันธ์

การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง ชอบดินร่วน น้ำปานกลาง และแสงแดดจัด

พื้นที่ขยายพันธ์

กำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าพรุทางภาคใต้ ที่ระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าพรุคันธุลี ตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 225 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    5/8/2025 1:16:38 PM
    5/6/2025 5:54:48 AM
    4/24/2025 4:15:19 AM
    4/19/2025 10:29:14 PM
    4/19/2025 6:59:46 PM