ชงโค


ชื่อภาษาไทย : ชงโค
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia glauca Wall. ex Benth.
ชื่ออื่นๆ : ดอกตีนวัว
อาณาจักร(Kingdom) : อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
ดิวิชัน(Division) หรือไฟลัม(Phylum) : ไม่ระบุ
คลาสหรือชั้น(Class) ไม่ระบุ
ลำดับ(Order) : ไม่ระบุ
แฟมิลี่หรือวงศ์(Family) : ไม่ระบุ
จีนัส(Genus) : ไม่ระบุ
สปีชีส์(species) : ไม่ระบุ
การใช้ประโยชน์ : ไม้ประดับ
ลักษณะ

-ต้น ไม้ยืนต้นขนาดย่อม กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม

-ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ.ปลายใบเว้าลึกมาก.ปลายใบทั้งสองด้านกลมมน มองดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายใบกาหลง แต่เว้าลงลึกกว่า).ใบทั้งสองด้านมักพันเข้าหากันเหมือนปีกผีเสื้อ

-ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นประเภทพลัดใบ มีลำต้นตั้งตรง ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งเป็นน้อย เปลือกลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกขรุขระ

-ดอก ดอกชงโคเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีรูปร่างคล้ายดอกกล้วยไม้ ดอกออกเป็นช่อบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 5-10 ดอก ดอกประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอมชมพู ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เมื่อดอกบาน ดอกจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกสามารถออกได้ตลอดทั้งปี

-ผล หรือฝักชงโคมีลักษณะเป็นฝักคล้ายฝักถั่ว มีรูปร่างแบน ฝักมีขนปกคลุม ฝักมีขนาดกว้าง 1-2 ซม. ยาว 20-25 ซม. ฝักจะเริ่มทยอยติดตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม จนแก่ในช่วงเดือนกันยายน ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล และเมื่อแก่จัดจะมีสีดำ

การขยายพันธ์

การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ง แต่ทั่วไปนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด เพราะง่าย และสะดวกกว่าวิธีอื่น ส่วนการตอนกิ่ง และการปักชำก็ยังเป็นที่นิยมอยู่บ้าง เนื่องจาก จะได้ลำต้นที่ไม่สูงมากนัก แต่มีข้อเสีย คือ ลำต้นจะแตกกิ่งน้อย

สำหรับเมล็ดที่ใช้ในการเพาะ ควรเป็นเมล็ดที่ได้จากฝักแห้ง ทั้งที่แห้งบนต้นหรือฝักที่ร่วงแล้ว ซึ่งจะเก็บได้ประมาณช่วงเดือนก่อนถึงปลายปี

การเพาะเมล็ดนั้น ให้เพาะในถุงพลาสติกเพาะชำ ด้วยการผสมวัสดุเพาะระหว่างดินกับวัสดุอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก แกลบดำ เป็นต้น อัตราส่วนดินกับวัสดุประมาณ 1:3 โดยก่อนลงเพาะให้นำเมล็ดมาแช่น้ำนาน 1 วัน ก่อน

พื้นที่ขยายพันธ์

N/A

คำอธิบายอื่นๆ

N/A

สถานที่
ชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ภาพประกอบ 

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ยึดปรัชญาตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญาอดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัฒนา ของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อ




  • Phone
    (+66) 077-519495
  • E-Mail
    chomphon@mju.ac.th
  • Address
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ
    ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

  • จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ทั้งหมด 149 ครั้ง
  • การเข้าถึงหน้านี้ 5 ลำดับล่าสุด(เวลา)
    4/25/2024 5:55:42 PM
    2/25/2024 2:26:59 AM
    1/17/2024 11:02:21 PM
    11/18/2023 12:59:37 PM
    7/1/2023 11:25:29 AM